ณ
วันนี้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างคาดหวังกันว่าการศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 นั้นสถานศึกษาจะเป็นหน่วยบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการแข่ง ขันอย่างเสรีที่จะเกิดขึ้น
การพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติในอนาคตต้องมีศักยภาพหลายด้านและนำไปสู่ความ
เป็นสากล ต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ให้มาก
ขึ้น และการเรียนรู้เฉพาะภาษาแม่และภาษาต่างประเทศที่ 2
อย่างเช่นในอดีตนั้นคงไม่เพียงพอแล้ว ยังต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่
3, 4, ... เพราะเมื่อเรียนรู้ได้หลากหลายภาษาจะส่งผลให้เราได้เปรียบทั้งในด้านการสื่อ
สาร การเจรจาต่อรอง แต่สิ่งที่ต้องเน้นย้ำและไม่อาจมองข้ามนั่นไปได้ก็คือต้องปลูกฝังความรู้ควบ
คู่คุณธรรมเพื่อพัฒนาให้ทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในประชาคมโลกได้อย่างสันติ สุขด้วย
กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใน
ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยกระดับโรงเรียนชั้นนำที่มีความพร้อมให้เป็นโรงเรียนดี
มีมาตรฐานสากล หรือที่เรียกกันว่า World – Class Standard
School เพื่อสร้างคนไทยรุ่นใหม่ให้เป็นคนดีของสังคมโลก โดยคาดหวังยกระดับการจัดการเรียน
การสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล ยกระดับการบริหารจัดการระบบคุณภาพ
พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งนี้โรงเรียนมาตรฐานสากลมุ่งสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพด้วยการพัฒนาหลัก
สูตรและการจัดการเรียนการสอนที่ใช้เป็นเป้าหมายในการยกระดับการจัดการศึกษา ของทั้งโรงเรียน
การออกแบบหลักสูตรจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พ.ศ.2551 ซึ่งผู้เรียนจะเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้ง
8 กลุ่มสาระและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่กำหนด
มีการพัฒนาต่อยอดคุณลักษณะที่เทียบเคียงกับสากล โดยโรงเรียนต้องพิจารณาให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความพร้อมและจุดเน้นที่มี
ความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละโรงเรียน
ส่วน“บันได 5 ขั้น” ของการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากลเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่คุณภาพ
ที่คาดหวัง คือ ขั้นที่ 1
การตั้งประเด็นคำถาม/สมมุติฐาน (Hypothesis Formulation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งข้อสงสัย ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผล
ขั้นที่ 2 การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ
(Searching for Information) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล
และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเตอร์เน็ต
หรือจาการปฏิบัติทดลอง เป็นต้น ขั้นที่ 3 การสรุปองค์ความรู้ (Knowledge Formation) เป็นการฝึกให้นำความรู้และสารสนเทศ
หรือข้อมูลที่ได้จากการอภิปราย การทดลอง มาคิดวิเคราะห์สังเคราะห์
และสรุปเป็นองค์ความรู้ ขั้นที่ 4 การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective
Communication) เป็นการฝึกให้นำ ความรู้ที่ได้มานำเสนอและสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดความเข้าใจ
และขั้นที่ 5 การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public
Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรู้ในบริบทรอบตัวและบริบทโลกตามวุฒิภาวะที่เหมาะสม
โดยจะนำองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์
และในการจัดการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้นนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการหนึ่งที่ยอมรับกันว่ามีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวางเป็น การเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็น ที่สนใจ คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study :IS) ดังนั้น ในโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงนำบันได 5 ขั้นสู่การจัดการเรียนการสอนโดยผ่านรายวิชา “การศึกษ าค้นคว้าด้วยตนเอง” ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมประกอบด้วย 3 สาระ ดังนี้
และในการจัดการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้นนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการหนึ่งที่ยอมรับกันว่ามีประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวางเป็น การเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็น ที่สนใจ คือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study :IS) ดังนั้น ในโรงเรียนมาตรฐานสากลจึงนำบันได 5 ขั้นสู่การจัดการเรียนการสอนโดยผ่านรายวิชา “การศึกษ าค้นคว้าด้วยตนเอง” ซึ่งเป็นรายวิชาเพิ่มเติมประกอบด้วย 3 สาระ ดังนี้
IS
1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and
Knowledge Formation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา
ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
(บันไดขั้นที่ 1-3)
IS
2 การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and
Presentation) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด
ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการ นำเสนอที่เหมาะสม
หลากหลายรูปแบบและมีประสิทธิภาพ (บันไดขั้นที่ 4)
IS
3 การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service
Activity) เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียน
นำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เกิดบริการสาธารณะ (Public Service) (บันไดขั้นที่ 5)
แต่สิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในสังคมออนไลน์ผ่านทาง facebook นั้นเกิด “กลุ่มต่อต้านวิชา IS แห่งประเทศไทย” โดยมีคำถามว่า “ถ้า "IS" เป็นวิชาเรียนที่คู่ควรและเหมาะสมกับนักเรียนไทยจริง
ทำไมนักเรียนจึงไม่เห็นด้วยกับวิชานี้ มีประโยชน์จริงหรือ
หรือเป็นเพียงสิ่งที่ผู้ใหญ่คิดว่าเด็กทำได้โดยไม่ดูศักยภาพของผู้เรียนที่
แท้จริง” ประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่ท้าทายซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง
เก็บมาทบทวนไตร่ตรองอย่างถ้วนถี่และศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริงถึงการต่อต้าน วิชา IS
เพราะที่ผ่านมายังไม่ปรากฏให้เห็นว่ามีการต่อต้านการเรียนรายวิชาอื่นใด
ชัดเจนเช่นนี้มาก่อน
แม้ว่าการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจะเป็นวิธีการที่ยอมรับกันว่ามี
ประสิทธิภาพและใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวไปสู่โลกกว้างด้วยการศึกษาค้นคว้าได้อย่าง
อิสระ แต่ในกระบวนการนำไปใช้จะต้องคำนึงถึงความพร้อม
วัย และพัฒนาการของผู้เรียนด้วย
เพราะเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างหลากหลาย
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น