วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
ข้อสอบเก็บคะแนน
วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (2201-1016)
บทที่ 5-8 จำนวน 40 ข้อ
คำชี้แจง
: เป็นข้อสอบปรนัยมี 40 ข้อ ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในกระดาษคำตอบ โดยให้เลือกคำตอบที่
ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ตลาดตามลักษณะการดำเนินงานของผู้ขาย
ได้แก่ตลาดประเภทใด
ก. ตลาดขายส่ง ข. ตลาดสินค้าเกษตรกรรม
ค. ตลาดสินค้าสำหรับผู้บริโภค ง. ตลาดสินค้าสำหรับผู้ผลิต
2.
นักเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งตลาดออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. 2 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
ข. 2 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
และตลาดผูกขาด
ค. 3 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ และตลาดผูกขาด
ง. 3 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
3.
ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์แตกต่างกับตลาดในความหมายของคนทั่วไปอย่างไร
ก. มีสถานที่จัดไว้เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายพบปะตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
ข. มีสถานที่จัดไว้เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายพบปะตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนกันโดยไม่ต้องเห็นสินค้าก่อนตกลงใจซื้อขายกัน
ค. ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ทำการซื้อขาย
แต่ต้องเห็นสินค้ากันก่อนทำการซื้อขาย
ง. ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ทำการซื้อขาย
และไม่จำเป็นต้องเห็นสินค้ากันก่อนทำการซื้อขาย
4. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของตลาด
ก. ผลิตภัณฑ์ ข. การประกันภัย
ค. สถานที่ ง. การส่งเสริมการขาย
5. ข้อใดเป็นผลเสียของการแข่งขัน
ก. ผู้ผลิตไม่สนใจปรับปรุงวิธีการผลิตและมุ่งกำไรสูงสุดโดยการตั้งราคาขายให้สูง
ข. ทำให้การผลิตมิได้กระทำอย่างเต็มที่
อีกทั้งการลงทุนใหม่ๆ ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
ค. ทำให้ในตลาดมีสินค้าที่มีคุณภาพ
และราคาจะเป็นไปตามกลไกราคา
ง. มีการใช้ทรัพยากรจำนวนมากไปทางด้านการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย
6. ข้อใดคือลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ก. สินค้ามีลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกันมาก
ข. สินค้ามีลักษณะและคุณภาพแตกต่างกัน
ค. มีการกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาทำการผลิตแข่งขัน
ง. ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีความรอบรู้ในสภาพการณ์ของตลาด
7. ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ถ้าผู้ผลิตรายหนึ่งขึ้นราคาสินค้า
ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
ก. ผู้ซื้อจะซื้อสินค้าของผู้ขายที่ขึ้นราคามากขึ้น
เนื่องจากเห็นว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี
ข. ผู้ซื้อจะไม่ซื้อสินค้าของผู้ขายที่ขึ้นราคาและไปซื้อสินค้าของผู้ขายรายอื่นแทน
ค. ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณขายของผู้ขายรายใดทั้งสิ้น
ง. ผู้ขายในตลาดจะออกจากตลาดมากขึ้น
8. เมื่อเปรียบเทียบตลาดประเภทต่างๆ ของผู้ผลิตแล้ว
ผู้ผลิตที่อยู่ในตลาดประเภทใดที่ประหยัดค่าใช้จ่าย หรือไม่จำเป็นต้องโฆษณาส่งเสริมการขายสินค้าของตนเองเลย
ก. ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ข. ตลาดผูกขาดแท้จริง
ค. ตลาดผู้ขายน้อยราย ง. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
9. เส้นรายรับส่วนเพิ่มของผู้ผลิตแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์
มีลักษณะอย่างไร
ก. เป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอน ข. เป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน
ค. เป็นเส้นตรงลาดลงจากซ้ายไปขวา ง. เป็นเส้นตรงทอดขึ้นไปจากซ้ายไปขวา
10. สิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับกลไกของราคา
ก. ตลาดส่งออกและตลาดนำเข้า ข. จำนวนผู้บริโภค–ผู้ผลิต
ค. อุปสงค์–อุปทาน ง. ถูกทุกข้อ
11. ระดับราคาเท่าใดที่จะทำให้ส้มล้นตลาด
ก. OA ข.
OC ค. OB ง. O3
12. ST คืออะไร
ก. ส้มขาดตลาด ข. ส้มล้นตลาด ค.
ส้มถูกกักตุน ง. ส้มขาดคุณภาพ
13. Price
Taker หมายถึงอะไร
ก. ผู้ขายแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์กำหนดราคาและปริมาณขายสินค้าของตนเองได้
ข. ผู้ขายแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ต้องขายสินค้าของตนเองตามราคาตลาด
ค. ผู้ขายแต่ละรายในตลาดผูกขาดแท้จริงกำหนดราคาขายสินค้าของตนเองได้
ง. ผู้ขายแต่ละรายในตลาดผูกขาดแท้จริงกำหนดปริมาณขายสินค้าของตนเองได้
จากภาพ
จงตอบคำถามข้อ
14-18
14. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด A เกิดผลอะไร
ก. กำไรเกินปกติ ข. ขาดทุน ค. คุ้มทุน ง. หยุดการผลิต
15. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด B จะเกิดอะไร
ก. กำไรเกินปกติ ข. ขาดทุน ค. คุ้มทุน
ง. หยุดการผลิต
16. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด C จะเกิดอะไร
ก. กำไรเกินปกติ ข. ขาดทุน ค. คุ้มทุน
ง. หยุดการผลิต
17. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด D จะเกิดอะไร
ก. กำไรเกินปกติ ข. ขาดทุน ค. คุ้มทุน
ง. หยุดการผลิต
18. เส้นอุปทานของหน่วยผลิตคืออะไร
ก. เส้น AC เริ่มตั้งแต่จุด
B ขึ้นไป ข. เส้น MC
เริ่มตั้งแต่จุด C ขึ้นไป
ค. เส้น MC เริ่มตั้งแต่จุด
D ขึ้นไป ง. เส้น AVC
เริ่มตั้งแต่จุด D ขึ้นไป
19. ข้อใดไม่ใช่เงิน
ก. ธนบัตร ข. บัตรเครดิต ค. เหรียญกษาปณ์ ง. เงินฝากประจำ
20. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการพยุงราคาสินค้า
ก. ให้ราคาต่ำลงกว่าราคาดุลยภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ข. ให้ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต
ค. ให้เกิดราคาดุลยภาพเพื่อความเป็นธรรมในสังคม
ง. ให้ระบบเศรษฐกิจเกิดประสิทธิภาพ
21. ราคาเป็นสิ่งที่บ่งบอกหน้าที่ของเงินในลักษณะใด
ก. เป็นสื่อกลาง ข. เป็นสิ่งใช้หนี้
ค. เป็นเครื่องวัดมูลค่า ง. เป็นเครื่องรักษามูลค่า
22. ข้อใดคือสิ่งที่ใช้รับรองมูลค่าของเงิน
ก. เพชร ข. ดีบุก ค. ทองคำ
ง. น้ำมัน
23. ประเทศไทยใช้มาตราเงินประเภทใด
ก. มาตราโลหะเดี่ยว ข. มาตราโลหะเงิน ค. มาตราโลหะคู่ ง. มาตราผสม
24. นโยบายการเงินของธนาคารกลางแบบใดมีผลกระทบต่อนโยบายการเงินของประเทศไทยมาก
ก. เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย ข. นำพันธบัตรออกขายต่อประชาชน
ค. ซื้อพันธบัตรจากประชาชน ง. ลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋ว
25. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศไทย
ก. เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้า
ข. เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ค. เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน
ง. เพื่อช่วยภาคเอกชนใช้หนี้เงินกู้ต่างประเทศ
26. เพราะเหตุใดเพชรซึ่งมีมูลค่าสูงมากจึงไม่ถูกใช้เป็นเงิน
ก. ดูยาก ข. หายาก ค. ไม่คงทน
ง. มูลค่าไม่คงตัว
27. การที่เงินมีอำนาจซื้อมากขึ้น
หรือมีค่าสูงกว่าปกติเป็นภาวการณ์ในข้อใด
ก. เงินเฟ้อ ข. เงินกระจาย ค. เงินฝืด
ง. เงินคงคลัง
28. การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ในข้อใด
ก. เงินเฟ้อ ข. เงินฝืด ค. เงินกระจาย ง. เงินคงคลัง
29. ใครคือผู้รับประโยชน์เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ
ก. ช่างเสริมสวย ข. ข้าราชการ ค. เจ้าของบ้านเช่า ง. เจ้าหนี้
30. เงินในข้อใดถือเป็นสกุลหลักที่ใช้แพร่หลายมากที่สุด
ก. บาท : ไทย ข. ดอลลาร์ :
สหรัฐอเมริกา
ค. เยน : ญี่ปุ่น ง. ฟรังซ์ :
ฝรั่งเศส
จากภาพ
จงตอบคำถามข้อ 31-32
31. จากภาพเส้นอุปสงค์ช่วง AP และ PD มีความยืดหยุ่นเป็นอย่างไร
ก. มีความยืดหยุ่นมากที่สุดทั้ง
2
เส้น ข. มีความยืดหยุ่นมากและน้อยตามลำดับ
ค. มีความยืดหยุ่นน้อยและมากตามลำดับ ง.
ไม่มีความยืดหยุ่นทั้ง 2 เส้น
32. ดุลยภาพในตลาดผู้ขายน้อยราย เกิดขึ้น ณ จุดใด
ก. MR = MC
ในช่วงที่เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก
ข. MR = MC
ในช่วงที่เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย
ค. MR = MC
ณ จุดหักของเส้นอุปสงค์
ง. MR = MC
ในช่วงที่เส้น MR
ขาดตอน
33. โดยทั่วไปการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ยกเว้นข้อใด
ก. การผูกขาดทำให้มีสินค้าพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ
ข. ผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครองจากการขายสินค้าในราคาที่สูงจากผู้ผูกขาด
ค. การผูกขาดก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ
ง. ผู้ผูกขาดเป็นผู้ครองตลาดแต่เพียงผู้เดียว
ทำให้ขายสินค้าได้เสมอ
34. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของการตลาด
ก. การเงิน ข. การคลัง ค. การป้องกันการเสี่ยงภัย ง. การขนส่ง
35. ตัวอย่างตลาดในข้อใดที่อาจจัดได้ว่าเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์
ก. ตลาดนัดแรงงาน ข. ตลาดหลักทรัพย์ ค.
ตลาดรถยนต์ ง. ตลาดผลผลิตทางการเกษตร
36. อำนาจการผูกขาดของผู้ผลิตเกิดขึ้นในกรณีใด
ก. มีผู้ผลิตเพียง 2-3 รายในตลาด ข. ขนาดของกิจการใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก
ค. เป็นธุรกิจที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ง. รัฐบาลออกกฎหมายให้ทำการผูกขาด
37. ข้อใดเป็นตัวอย่างสินค้าในตลาดผูกขาดแท้จริง
ก. รถยนต์ เหล็กกล้า ข. น้ำมันรถยนต์ ผงซักฟอก ค. ข้าวโพด อ้อย ง. ไฟฟ้า ประปา
38. ข้อใดเป็นตัวอย่างในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
ก. รถยนต์ เหล็กกล้า ข. น้ำมันรถยนต์ ผงซักฟอก ค. ข้าวโพด อ้อย ง. ไฟฟ้า ประปา
39. ข้อใดเป็นตัวอย่างสินค้าในตลาดผู้ขายน้อยราย
ก. รถยนต์ เหล็กกล้า ข. น้ำมันรถยนต์ ผงซักฟอก
ค. ข้าวโพด อ้อย ง. ไฟฟ้า ประปา
40. หากราคาสินค้าแพงขึ้นจนประชาชนเดือดร้อนรัฐควรใช้วิธีการใดแก้ปัญหา
ก. กำหนดราคาสินค้าขั้นต่ำ ข. กำหนดราคาสินค้าขั้นสูง
ค. การให้เงินอุดหนุนผู้ผลิต ง. การจัดเก็บภาษี
เฉลยดูได้จากที่ไหนคับบบ
ตอบลบอาจารย์ครับผมอยากได้เฉลยจังครับ
ลบ