หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ข้อสอบวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น บทที่ 5-8


วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
ข้อสอบเก็บคะแนน วิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (2201-1016)
บทที่ 5-8 จำนวน 40 ข้อ
คำชี้แจง : เป็นข้อสอบปรนัยมี 40 ข้อ ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในกระดาษคำตอบ โดยให้เลือกคำตอบที่
             ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว 

1. ตลาดตามลักษณะการดำเนินงานของผู้ขาย ได้แก่ตลาดประเภทใด
.   ตลาดขายส่ง                                  .   ตลาดสินค้าเกษตรกรรม
.   ตลาดสินค้าสำหรับผู้บริโภค                  .   ตลาดสินค้าสำหรับผู้ผลิต
2. นักเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งตลาดออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
.   2 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
.   2 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดผูกขาด
.   3 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ และตลาดผูกขาด
.    3 ประเภท คือ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
3. ตลาดในความหมายทางเศรษฐศาสตร์แตกต่างกับตลาดในความหมายของคนทั่วไปอย่างไร
.   มีสถานที่จัดไว้เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายพบปะตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน
.   มีสถานที่จัดไว้เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายพบปะตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนกันโดยไม่ต้องเห็นสินค้าก่อนตกลงใจซื้อขายกัน
.   ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ทำการซื้อขาย แต่ต้องเห็นสินค้ากันก่อนทำการซื้อขาย
.    ไม่จำเป็นต้องมีสถานที่ทำการซื้อขาย และไม่จำเป็นต้องเห็นสินค้ากันก่อนทำการซื้อขาย
4.  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของตลาด
.   ผลิตภัณฑ์                                     .   การประกันภัย
.   สถานที่                                        .   การส่งเสริมการขาย
  5.  ข้อใดเป็นผลเสียของการแข่งขัน
.   ผู้ผลิตไม่สนใจปรับปรุงวิธีการผลิตและมุ่งกำไรสูงสุดโดยการตั้งราคาขายให้สูง
.   ทำให้การผลิตมิได้กระทำอย่างเต็มที่ อีกทั้งการลงทุนใหม่ๆ ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น
.   ทำให้ในตลาดมีสินค้าที่มีคุณภาพ และราคาจะเป็นไปตามกลไกราคา
.    มีการใช้ทรัพยากรจำนวนมากไปทางด้านการผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย
6.  ข้อใดคือลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์
.   สินค้ามีลักษณะและคุณภาพใกล้เคียงกันมาก
.   สินค้ามีลักษณะและคุณภาพแตกต่างกัน
.   มีการกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตรายอื่นเข้ามาทำการผลิตแข่งขัน
.    ผู้ผลิตและผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมีความรอบรู้ในสภาพการณ์ของตลาด
  7.  ในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ถ้าผู้ผลิตรายหนึ่งขึ้นราคาสินค้า ผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
.   ผู้ซื้อจะซื้อสินค้าของผู้ขายที่ขึ้นราคามากขึ้น เนื่องจากเห็นว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี
.   ผู้ซื้อจะไม่ซื้อสินค้าของผู้ขายที่ขึ้นราคาและไปซื้อสินค้าของผู้ขายรายอื่นแทน
.   ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณขายของผู้ขายรายใดทั้งสิ้น
.    ผู้ขายในตลาดจะออกจากตลาดมากขึ้น
 8. เมื่อเปรียบเทียบตลาดประเภทต่างๆ ของผู้ผลิตแล้ว ผู้ผลิตที่อยู่ในตลาดประเภทใดที่ประหยัดค่าใช้จ่าย หรือไม่จำเป็นต้องโฆษณาส่งเสริมการขายสินค้าของตนเองเลย
.   ตลาดแข่งขันสมบูรณ์                         .   ตลาดผูกขาดแท้จริง
    ค.   ตลาดผู้ขายน้อยราย                            ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
 9.  เส้นรายรับส่วนเพิ่มของผู้ผลิตแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีลักษณะอย่างไร
.   เป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอน              .   เป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน
.   เป็นเส้นตรงลาดลงจากซ้ายไปขวา           .   เป็นเส้นตรงทอดขึ้นไปจากซ้ายไปขวา
10. สิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับกลไกของราคา
.   ตลาดส่งออกและตลาดนำเข้า                .   จำนวนผู้บริโภคผู้ผลิต
.   อุปสงค์อุปทาน                              .   ถูกทุกข้อ
11. ระดับราคาเท่าใดที่จะทำให้ส้มล้นตลาด
.   OA                         ข. OC                      ค.  OB                     . O3
12. ST  คืออะไร
.   ส้มขาดตลาด               . ส้มล้นตลาด             ค. ส้มถูกกักตุน             ง. ส้มขาดคุณภาพ
13. Price Taker  หมายถึงอะไร
.   ผู้ขายแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์กำหนดราคาและปริมาณขายสินค้าของตนเองได้
.   ผู้ขายแต่ละรายในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ต้องขายสินค้าของตนเองตามราคาตลาด
.   ผู้ขายแต่ละรายในตลาดผูกขาดแท้จริงกำหนดราคาขายสินค้าของตนเองได้
.   ผู้ขายแต่ละรายในตลาดผูกขาดแท้จริงกำหนดปริมาณขายสินค้าของตนเองได้

จากภาพ จงตอบคำถามข้อ 14-18


14. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด A เกิดผลอะไร
.   กำไรเกินปกติ                        ขาดทุน                คคุ้มทุน              หยุดการผลิต
15. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด B จะเกิดอะไร
.   กำไรเกินปกติ                        ขาดทุน                คคุ้มทุน               . หยุดการผลิต
 16. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด C จะเกิดอะไร
.   กำไรเกินปกติ                        ขาดทุน                คคุ้มทุน               . หยุดการผลิต
 17. หน่วยผลิตทำการผลิต ณ จุด D จะเกิดอะไร
.   กำไรเกินปกติ                        ขาดทุน                คคุ้มทุน               . หยุดการผลิต
 18.     เส้นอุปทานของหน่วยผลิตคืออะไร
.   เส้น AC เริ่มตั้งแต่จุด B ขึ้นไป                .   เส้น MC เริ่มตั้งแต่จุด C ขึ้นไป
.   เส้น MC เริ่มตั้งแต่จุด D ขึ้นไป               .   เส้น AVC เริ่มตั้งแต่จุด D ขึ้นไป
19. ข้อใดไม่ใช่เงิน
.   ธนบัตร                               ขบัตรเครดิต             คเหรียญกษาปณ์     เงินฝากประจำ
 20.     ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการพยุงราคาสินค้า
.   ให้ราคาต่ำลงกว่าราคาดุลยภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
.   ให้ราคาสูงกว่าราคาดุลยภาพเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิต
.   ให้เกิดราคาดุลยภาพเพื่อความเป็นธรรมในสังคม
     ง.   ให้ระบบเศรษฐกิจเกิดประสิทธิภาพ
21. ราคาเป็นสิ่งที่บ่งบอกหน้าที่ของเงินในลักษณะใด
.   เป็นสื่อกลาง                                   .   เป็นสิ่งใช้หนี้
.   เป็นเครื่องวัดมูลค่า                            .   เป็นเครื่องรักษามูลค่า
22. ข้อใดคือสิ่งที่ใช้รับรองมูลค่าของเงิน
.   เพชร                                 ดีบุก                    คทองคำ              . น้ำมัน
23. ประเทศไทยใช้มาตราเงินประเภทใด
.   มาตราโลหะเดี่ยว                    มาตราโลหะเงิน       ค. มาตราโลหะคู่       มาตราผสม
24. นโยบายการเงินของธนาคารกลางแบบใดมีผลกระทบต่อนโยบายการเงินของประเทศไทยมาก
.   เพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย         .   นำพันธบัตรออกขายต่อประชาชน
.   ซื้อพันธบัตรจากประชาชน                   .   ลดอัตรารับช่วงซื้อลดตั๋ว
25. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศไทย
.   เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้า
.   เพื่อรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
.   เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน
     ง.   เพื่อช่วยภาคเอกชนใช้หนี้เงินกู้ต่างประเทศ
26. เพราะเหตุใดเพชรซึ่งมีมูลค่าสูงมากจึงไม่ถูกใช้เป็นเงิน
.   ดูยาก                      หายาก                 คไม่คงทน            มูลค่าไม่คงตัว
27. การที่เงินมีอำนาจซื้อมากขึ้น หรือมีค่าสูงกว่าปกติเป็นภาวการณ์ในข้อใด
.   เงินเฟ้อ                     ขเงินกระจาย            คเงินฝืด              เงินคงคลัง
28. การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์จะก่อให้เกิดเหตุการณ์ในข้อใด
.   เงินเฟ้อ                     เงินฝืด                  คเงินกระจาย        เงินคงคลัง
29. ใครคือผู้รับประโยชน์เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ
.   ช่างเสริมสวย               ข้าราชการ             คเจ้าของบ้านเช่า    เจ้าหนี้
30. เงินในข้อใดถือเป็นสกุลหลักที่ใช้แพร่หลายมากที่สุด
.   บาท : ไทย                                    .   ดอลลาร์ : สหรัฐอเมริกา
.   เยน : ญี่ปุ่น                                   .   ฟรังซ์ : ฝรั่งเศส

จากภาพ จงตอบคำถามข้อ 31-32

31. จากภาพเส้นอุปสงค์ช่วง AP และ PD มีความยืดหยุ่นเป็นอย่างไร
ก.       มีความยืดหยุ่นมากที่สุดทั้ง 2 เส้น                ข.  มีความยืดหยุ่นมากและน้อยตามลำดับ
ค.       มีความยืดหยุ่นน้อยและมากตามลำดับ           ง.  ไม่มีความยืดหยุ่นทั้ง 2 เส้น
32. ดุลยภาพในตลาดผู้ขายน้อยราย เกิดขึ้น ณ จุดใด
.   MR = MC  ในช่วงที่เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมาก
.   MR = MC  ในช่วงที่เส้นอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย
.   MR = MC  ณ จุดหักของเส้นอุปสงค์
.   MR = MC  ในช่วงที่เส้น  MR ขาดตอน
33. โดยทั่วไปการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจก่อให้เกิดผลเสียหลายประการ ยกเว้นข้อใด
.   การผูกขาดทำให้มีสินค้าพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเพียงพอ
.   ผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครองจากการขายสินค้าในราคาที่สูงจากผู้ผูกขาด
.   การผูกขาดก่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรการผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ
.    ผู้ผูกขาดเป็นผู้ครองตลาดแต่เพียงผู้เดียว ทำให้ขายสินค้าได้เสมอ
34. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของการตลาด
.   การเงิน                    การคลัง                คการป้องกันการเสี่ยงภัย         .  การขนส่ง
35. ตัวอย่างตลาดในข้อใดที่อาจจัดได้ว่าเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์
.   ตลาดนัดแรงงาน           ขตลาดหลักทรัพย์       คตลาดรถยนต์      . ตลาดผลผลิตทางการเกษตร
36. อำนาจการผูกขาดของผู้ผลิตเกิดขึ้นในกรณีใด
.   มีผู้ผลิตเพียง 2-3 รายในตลาด               .   ขนาดของกิจการใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก
.   เป็นธุรกิจที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ        .   รัฐบาลออกกฎหมายให้ทำการผูกขาด
37. ข้อใดเป็นตัวอย่างสินค้าในตลาดผูกขาดแท้จริง
.   รถยนต์ เหล็กกล้า         น้ำมันรถยนต์ ผงซักฟอก        คข้าวโพด อ้อย       ไฟฟ้า ประปา
38. ข้อใดเป็นตัวอย่างในตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด
.   รถยนต์ เหล็กกล้า         น้ำมันรถยนต์ ผงซักฟอก        คข้าวโพด อ้อย       ไฟฟ้า ประปา
39. ข้อใดเป็นตัวอย่างสินค้าในตลาดผู้ขายน้อยราย
.   รถยนต์ เหล็กกล้า                            .   น้ำมันรถยนต์ ผงซักฟอก
.   ข้าวโพด อ้อย                                 .   ไฟฟ้า ประปา
40. หากราคาสินค้าแพงขึ้นจนประชาชนเดือดร้อนรัฐควรใช้วิธีการใดแก้ปัญหา
ก.       กำหนดราคาสินค้าขั้นต่ำ                     ข.  กำหนดราคาสินค้าขั้นสูง       
ค.  การให้เงินอุดหนุนผู้ผลิต                       ง.  การจัดเก็บภาษี